หมอกก็สามารถเกิดได้ในห้องน้ำ ถ้าเราอาบน้ำร้อนโดยใช้ฝักบัว โดยน้ำค่อนข้างร้อนและใช้เวลาอาบน้ำค่อนข้างนาน เมื่ออากาศในห้องน้ำอิ่มตัว ไอน้ำก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็กๆ ลอยอยู่ในอากาศ เมื่อหยดน้ำเล็กๆ เหล่านั้น กระทบกับกระจกซึ่งมีพื้นผิวที่เย็นกว่าอากาศในห้องน้ำ หยดน้ำเล็กๆ เหล่านั้น ก็จะรวมตัวเป็นหยดน้ำขนาดใหญ่เกาะบนผิวกระจก และเมื่อมีขนาดใหญ่เพียงพอ ก็จะไหลเป็นทางบนพื้นผิวกระจก
ความสามารถในการอุ้มไอน้ำของอากาศ (อากาศอิ่มตัว) จะแตกต่างกันตามอุณหภูมิ (จุดน้ำค้าง) ที่อุณหภูมิสูง อากาศจะอุ้มน้ำได้มากกว่าอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ดังที่แสดงไว้ในแผนภูมิ ยกตัวอย่างเช่น
อากาศที่อุณหภูมิ 25oC จะสามารถอุ้มไอน้ำได้ 20.44 กรัมต่ออากาศแห้ง 1,000 กรัม และหากอุณหภูมิลดลงเหนือ 15oC ความสามารถในการอุ้มไอน้ำก็จะเหลือเพียง 10.83 กรัมต่ออากาศแห้ง 1,000 กรัม
สำหรับปรากฎการณ์ที่จะเกิดหมอกนั้น สามารถอธิบายโดยใช้ข้อมูลไอน้ำอิ่มตัวในอากาศได้ดังนี้ สมมุติว่า ณ เวลาเที่ยงคืนในกรุงเทพมหนคร วัดอุณหภูมิได้ 30oC และมีไอน้ำในอากาศประมาณ 20.44 กรัมต่ออากาศแห้ง 1,000 กรัม และบังเอิญในขณะเดียวกัน มีลมหนาวพัดจากจีนเข้าสู่ประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิในกรุงเทพมหานครลดต่ำลง จนกระทั่งเหลือ 25oC (เป็นจุดน้ำค้างเมื่ออากาศมีไอน้ำ 20.44 กรัมต่ออากาศแห้ง 1,000 กรัม) ในช่วง 6 โมงเช้า ณ เวลานั้นก็จะเกิดหมอก เพราะอากาศไม่สามารถอุ้มไอน้ำได้อีกต่อไป จึงกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็กๆ ลอยอยู่ในอากาศเกี่ยวกับไอน้ำในอากาศ มีศัพท์ๆ หนึ่งซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาใช้เป็นประจำ คือ ความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งหมายถึงปริมาณไอน้ำในอากาศต่อปริมาณไอน้ำอิ่มตัวในอากาศ จากตัวอย่างข้างต้น ความชื้นสัมพัทธ์ในกรุงเทพมหานคร ณ เวลาเที่ยงคืนจะเท่ากับ 73.8% (20.44*100/27.69)
{iarelatednews articleid="94,93,91,92"}